Friday, September 5, 2008

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีรายงานอาการไม่พึงประสงค์

อาหารที่พบอาการไม่พึงประสงค์ ได้แก่
1. น้ำลูกยอ - บวม ผื่นคันตามตัว ผื่นดำแดงและหลุดลอก
2. สาหร่ายสไปรูลิน่า - คัน ผื่นผดที่ผิวหนังเฉพาะเวลาเหงื่อออก
3. สารสกัดจากส้มแขก- ผื่นคัน
4. น้ำมันอิฟนิ่ง พริมโรส - มีอาการแน่นหน้าอก
5. ใบแป๊ะก๊วย - ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ
กลุ่มยา ยาจากสมุนไพร และวัตถุเสพติด ได้แก่
1.Atenolol - bradycardia, coughing, dizziness, dysuria
2.Bisacodyl - pruritus,rash
3.Cefazolin - anaphylactic shock, cheilitis, hot dry skin
4. ขี้เหล็ก (Cassia siamea)- hepatitis,jaundice, anorexia
5.ขมิ้นชัน (Curcuma longa) - abdominal pain, anorexia
6. ฟ้าทะลายโจร (Andrographis paniculata)- diaarhoea, bronchospasm,anorrexia
7.Alprazolam - ท้องเสีย
8.Pethidine - rash erythematous
9.Phentermine - dyspnoea

กลุ่มเครื่องสำอาง
1. ผลิตภัณฑ์ย้อมผม - ผิวหนังแดง และต่อมาเกิดตุ่มนูนเล็ก ๆ บริเวณศีรษะแล้วลามมาที่บริเวณต้นคอ หลังหูและใบหู
2. ผลิตภัณฑ์สเปรย์ผม - เกิดการอักเสบของผิวหนัง บริเวณข้างใบหู หน้าตาหน้าผาก ใบหน้าและคอ
3. ผลิตภัณฑ์น้ำมันใส่ผม- หนังศีรษะอักเสบและคัน
4. ผลิตภัณฑ์ทาฝ้า - เกิดสีผิวจางเป็นจุด ๆ บริเวณใบหน้า ทำให้ผิวดำฝ้าถาวร บริเวณโหนกแก้ม
5. ผลิตภัณฑ์น้ำหอม - คันบริเวณกกหู ต้นคอ
6. ลิปสติก - ริมฝีปากทั้งบนและล่างมีผื่นเม็ดเล็ก ๆ คัน
7. ยาสีฟัน - ผื่นบริเวณรอบ ๆปาก และรอบปากเป็นขุยบาง ๆ
8. ผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อและกลิ่นกาย - เกิดผื่นบริเวณรักแร้ โดยเฉพาะบริเวณลึกที่สุดของรักแร้
9. เครื่องสำอางสำหรับเล็บ- ผิวหนังบริเวณจมูกเล็บอักเสบ เล็บมีสีเปลี่ยนไป

กลุ่มเครื่องมือแพทย์
1. เครื่องควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ (cardiac pacemaker) ชนิดที่ทำจากตะกั่ว
อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการใช้เครื่องนี้ที่พบ คือ เมื่อใช้เครื่องร่วมกับการฉายรังสีที่มีความถี่ต่าง ๆ แล้วเกิดปฏิกริยาต่อกันทำให้ผู้ป่วยพิการหรือเสียชีวิต
2. อุปกรณ์ช่วยการได้ยิน ที่ฝังไว้ที่หูส่วน cochlear (cochlear implant) มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) จากการติดเชื้อแบคทีเรียได้
3. ถุงมือที่ใช้แล้วทิ้ง (disposable glovoe) ทำให้เกิดผื่นคัน (skin rash) บริเวณฝ่ามือ หลังมือ หลังจากใส่ถุงมือ และผิวหนังอักเสบที่เกิดจากการสัมผัส (contact dermatitis) กับถุงมือที่สวม
4. พลาสเตอร์ปิดแผล (plaster)ที่ทำจากผ้ายืด ทำให้เกิดผื่นคันผิวหนังมีรอยแดง (skin rash)บริเวณที่ติดพลาสเตอร์

กลุ่มวัตถุอันตราย
1.ผลิตภัณฑ์ล้างจานชนิดเหลว มีอาการปวด บวม แดง และคันที่ฝ่ามือ
2.ผลิตภัณฑ์ทากันยุง เมื่อทาบริเวณแขน ขา คอ แล้วเกิดผื่นแดง (erythematous rash)
3.ผลิตภัณฑ์ฉีดไล่ยุง หลังฉีดทิ้งไว้ในห้องนาน 3 ชั่วโมง เมื่อกลับเข้าไปในห้อง เกิดอาการผื่นแดงทั้งตัว คลื่นไส้ และคัน
4.ผลิตภัณฑ์ซักผ้า (ชนิดเหลว) ใช้แล้วเกิดอาการผื่นแดง (erythematous) ที่ฝ่ามือทั้งสองข้าง

ข้อมูลคัดลอกมาจากเว๊ปไซด์fda.moph.go.th/fda-net/HTML/PRODUCT/APR/arv/APR%20report.pdf

No comments: